ผู้เขียน หัวข้อ: กฎหมาย กับ การวิเคราะห์ที่ดิน เพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์  (อ่าน 319 ครั้ง)

jeerapunsanook

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2181
    • ดูรายละเอียด
ครม.ไฟเขียว!!!พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หลังผ่านการปรับแก้จากกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้วสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -21 มี.ค. 60 14:48 น.ครม.ไฟเขียว พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หลังผ่านการปรับแก้จากกฤษฎีกาเพิ่มการจัดเก็บภาษีที่ดินรกร้าง จาก 5% เป็นไม่เกิน 2% แต่จะปรับเพิ่มขึ้น 0.5% ทุกๆ 3 ปี แต่อัตราภาษีสูงสุดไม่เกิน 5%ที่ดินเกษตรกรรม ไม่เกิน 0.2%ส่วนบ้าน และที่ดินไม่เกิน 50 ล้าน ไม่เสียภาษี พร้อมเปิดช่องให้ลดหย่อน กรณีที่มีบ้านพักอาศัยอยู่มาเป็นระยะเวลานานแต่ราคาที่ดินปรับเพิ่มสูงขึ้น******************************************นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว โดยได้มีการปรับปรุงร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยเพิ่มอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินรกร้าง สำหรับสาระสำคัญของร่างดังกล่าวนั้น ได้มีการอัตราเพดานที่ดินรกร้างจากเดิม 5% เป็นเพดานไม่เกิน 2% ของฐานภาษี และจัดเก็บเพิ่มขึ้น 0.5% ทุก 3 ปี แต่ไม่เกิน 5% ในส่วนของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ให้มีอัตราภาษีไม่เกิน 0.2% ของฐานภาษี ซึ่งต้องเป็นการใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมนั้น โดยต้องเป็นการทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกันประกาศกำหนด ด้านที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย ให้มีอัตราภาษีไม่เกิน 0.5% ของฐานภาษี ด้านที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากดังกล่าวนั้น ให้มีอัตราภาษีไม่เกิน 2% ของฐานภาษี ส่วนการคำนวณภาษีนั้น ในกรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น ให้ได้รับยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีในการคำนวณไม่เกิน 50 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้ออกพระราชกฤษฎีกา เพื่อเป็นช่องทางการขอลดหย่อนภาษีได้ 90% จากอัตราฐานภาษี กรณีที่มีบ้านพักอาศัยอยู่มาเป็นระยะเวลานานแต่ราคาที่ดินปรับเพิ่มสูงขึ้นซึ่งเจ้าของบ้านมีรายได้ไม่มาก รวมทั้งกำหนดข้อบังคับห้ามขายห้ามโอนหากติดหนี้ภาระภาษี ยกเว้นกรณีขายทอดตลาด อย่างไรก็ตามคาดว่าจะใช้ระยะเวลาการพิจารณาในขั้นตอนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติประมาณ 2-3 เดือน และจะมีผลบังคับใช้หลังประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 1 ปีรายงาน ภัทราภรณ์ พลายเถื่อน เรียบเรียง สุรเมธี มณีสุโข******************************************************************* ไม่รู้...ไม่ได้แล้ว!!!เปลี่ยนความเข้าใจเรื่องกฎหมายที่ดิน ที่ว่ายากและซับซ้อน ให้เข้าใจง่ายภายใน 2 วัน!!!สัมมนาหลักสูตร "เล่นที่เป็น เห็นเงินล้าน" รุ่นที่ 2คลิกเพื่อลงทะเบียน https://goo.gl/xTPt4xบรรยายความรู้อัดแน่น แบบไม่มีกั๊ก ตลอด 2 วันเต็มสัมนา “เล่นที่เป็น เห็นเงินล้าน” บรรยายความรู้ “กฎหมาย กับ การวิเคราะห์ที่ดิน เพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์”ในวันเสาร์ และอาทิตย์ที่ 29 - 30 เมษายน 2560 ช่วงเวลา 08.30 น.– 16.00 น. (2 Breaks + 1 Lunch/Day)ณ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คลิกเพื่อลงทะเบียน https://goo.gl/xTPt4x

 

Sitemap 1 2 3